ประเพณีการบวช การบวชถือเป็นสิ่งที่ช่วยอบรมสั่งสอน ให้เป็นคนดี ตลอดจนเป็นการทดแทนคุณพ่อแม่ที่ให้กำเนิดเพื่อให้พ่อแม่เป็นสุข และตัวผู้บวชเองก็จะได้มีโอกาสศึกษาธรรมวินัย สวดมนต์ภาวนาทำใจให้สงบ เป็นต้น การบวชจึงมี ๒ แบบ คือ
บรรพชา (บวชเณร)
เด็กชายที่จะบวชเป็นสามเณรได้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป สมัยก่อนการบวชเณรเป็นการฝากลูกให้พระดูแลอบรมสั่งสอน เพราะวัดเป็นเสมือนโรงเรียนหรือสถานที่สอนคนให้เป็นคนดี แต่สมัยนี้การบวชมักเป็นการบวชเพื่อแก้บน บวชหน้าศพ บวชเพื่อศึกษาธรรมวินัย
การอุปสมบท (บวชพระ)
ชายที่จะบวชได้ต้องมีอายุครบ ๒๐ปีบริบูรณ์ การอุปสมบทเป็นประเพณีไทยที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ ๒๐ปี เป็นวัยที่เข้าเขตผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ และเข้าใจภาวะผันแปรต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นหลักแห่งความจริงในโลก เพราะสอนให้ มนุษย์รู้สาเหตุของความทุกข์และความสุข ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว แม้ว่าในปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดไม่ได้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาดังแต่ก่อน เพราะมีสถาบันการศึกษา แทนวัด วัดจึงกลายความสำคัญ ในแง่การถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นทางการ การบวชพระจึงลดน้อยลงโดยเฉพาะในตัวเมือง แต่ในชนบทยังคงยึดถือเป็นประเพณีไทยที่ปฏิบัติอยู่ต่อไป
บรรพชา (บวชเณร)
เด็กชายที่จะบวชเป็นสามเณรได้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป สมัยก่อนการบวชเณรเป็นการฝากลูกให้พระดูแลอบรมสั่งสอน เพราะวัดเป็นเสมือนโรงเรียนหรือสถานที่สอนคนให้เป็นคนดี แต่สมัยนี้การบวชมักเป็นการบวชเพื่อแก้บน บวชหน้าศพ บวชเพื่อศึกษาธรรมวินัย
การอุปสมบท (บวชพระ)
ชายที่จะบวชได้ต้องมีอายุครบ ๒๐ปีบริบูรณ์ การอุปสมบทเป็นประเพณีไทยที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ ๒๐ปี เป็นวัยที่เข้าเขตผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ และเข้าใจภาวะผันแปรต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นหลักแห่งความจริงในโลก เพราะสอนให้ มนุษย์รู้สาเหตุของความทุกข์และความสุข ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว แม้ว่าในปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดไม่ได้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาดังแต่ก่อน เพราะมีสถาบันการศึกษา แทนวัด วัดจึงกลายความสำคัญ ในแง่การถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นทางการ การบวชพระจึงลดน้อยลงโดยเฉพาะในตัวเมือง แต่ในชนบทยังคงยึดถือเป็นประเพณีไทยที่ปฏิบัติอยู่ต่อไป
พีธีการบวช
๑. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนผมนาค ณ โรงพิธีประชุมสงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย
๒. หลังจากนั้นอาบน้ำนาค เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว เรียกว่า เจ้านาค หรือพ่อนาค
๓. กลางคืนจัดให้พี่พิธีสงฆ์เรียกว่า การสวดผ้า เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้
๔. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ ๓ รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา
๕. เมื่อครบ ๓ รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ
๖. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ ( พระคู่สวด ) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านละ ๓ กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล ๑๐ พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้น ๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อ ๆ เรียกว่า ขานนาค
๗. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ ( ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)
๘. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของถวายเครื่องไทยธรรมจากญาติ ขณะเดี๋ยวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา ญาติ เป็นอันเสร็จพิธี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น